RSS

Category Archives: Humanoid

Page4

Humanoid

ดังนั้นจึงไม่สงสัยเลยว่าทำไมประเทศเยอรมัน ถึงมีความเป็นมหาอำนาจในการผลิตรถยนต์ที่โด่งดังของโลก หรือแม้แต่

งานที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องจักรกล ซึ่งมีความทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้านเอเชีย ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เกิดการ

พัฒนาทางด้านการผลิตหุ่นยนต์จากจินตนาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากการ์ตูน ลักษณะของหุ่นยนต์หลายตัวจึงเป็น

ลักษณะ Humanoid หรือหุ่นยนต์ที่มีลักษณะทางกายภาพเหมือนคน ลักษณะของหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาอาจจะไม่ได้นำ

ไปใช้งานแต่เป็นการคิดเพื่ออนาคต มีลักษณะเหมือนคนมากที่สุดทั้งในเรื่องของการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งต้องใช้

เทคโนโลยีชั้นสูงและยังมีหุ่นยนต์ที่โดดเด่นอย่าง AIBO หุ่นยนต์สุนัขที่สามารถโต้ตอบกับคนได้ ซึ่งมีการนำ AIBO มา

ใช้ในห้องทดลองวิจัยหลายมหาวิทยาลัยด้วยกัน สามารถติดต่อสื่อสารผ่านคลื่นอินฟราเรดได้ซึ่งในอนาคตจะมีการ

พัฒนาไปสู่หุ่นยนต์บริการในบ้าน และยังมีหุ่นยนต์ในลักษณะ Humanoid อีกตัว SDR-4X, หุ่นยนต์ R100 ที่กำลังพัฒนา

ให้เป็นหุ่นยนต์บริการที่ใช้ในบ้าน และ สามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้เป็นไปในรูปแบบของ Partner Robot 10 ปีต่อมา

ในปี 1952 การ์ตูนเรื่อง Astro Boy ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการ์ตูน ที่คงอยู่ในความทรงจำของคนหลายคน และด้วย

หุ่นยนต์ตัวเอกชื่อ Tetsuwan Atom หุ่นยนต์ที่สามารถบินได้ โดยเวลาบินจะมีไฟ่พ่นออกมาจากเท้า การ์ตูนเรื่องนี้ถือว่า

ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมา เช่นเดียวกับตัวหุ่นยนต์ R2D2 เป็นหุ่นยนต์กระป๋อง และ

หุ่นยนต์ C3po ในภาพยนต์เรื่อง Star Wars ที่ทำให้ภาพของหุ่นยนต์อยู่ในความนึกฝันและจินตนาการของใครหลาย คน

ในช่วงยุคของเทคโนโลยีที่นำมาเสนอในภาคการ์ตูนซึ่งในช่วงนี้ญี่ปุ่นรุ่งเรืองในด้านเทคโนโลยีมาก หลังจากที่ทราบความ

เป็นมาของหุ่นยนต์ประเทศอื่นแล้วลองมองย้อนมาที่บ้านของเรากันบ้าง ในขณะที่ทั่วโลกต่างพากันพัฒนาเทคโนโลยีการ

สร้างหุ่นยนต์ในประเทศไทยเราเอง ก็ได้ตามเกาะติดแวดวงเทคโนโลยีการผลิตหุ่นยนต์กับนานาชาติเช่น เดียวกัน โดย

เฉพาะการแข่งขันหุ่นยนต์ในบ้านเราที่ผ่านมามักเน้นไปในลักษณะEdutainment คือเป็นความสนุกควบคู่ไปกับการเรียนรู้

ในเกมการแข่งขันมากกว่า ซึ่งก็สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีระดับโลกไม่น้อยเลย และที่น่าสนใจตอนนี้มี

โครงการการแข่งขันประกวด

Robot treat Human

Page 1
Welcome! Everyone to the world of robotic variety.

ขอต้อนรับทุกคนเข้าสู่โลกแห่งหุ่นยนต์ของเรา

Hi! Everybody , Today I would like present to about Robot treat Human in our  world.

สวัสดีค่ะ… ทุกคน วันนี้ดิฉันจะมานำเสนอเกี่ยวกับหุ่นยนต์ช่วยชีวิตมนุษย์ที่อยู่ในโลกของพวกเราทุกคน

ดิฉันนำเสนอเรื่องนี้เพราะดิฉันชอบเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และ อยากให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับนักประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่เก่งกาจ

ในแต่ละสมัยจนถึงปัจจุบันนี้

คุณเคยรู้มาก่อนไหมว่า “ หุ่นยนต์ช่วยชีวิตมนุษย์ ” ที่คุณเคยได้ยินกันมาอย่างแพร่หลาย ถือกำเนิดมาจากละครเวทีโดย

นักประพันธ์ชาวเชกส์ Shakey หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตัวแรกด้วยเซนเซอร์ในสมัยก่อนหุ่นยนต์เป็นเพียงจินตนาการของมนุษย์

ที่มีความต้องการได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาช่วยในการผ่อนแรงจากงานที่ทำ หรือช่วยในการปฏิบัติงานที่ยากลำบากเกินขอบ

เขตความสามารถ และจากจินตนาการได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์ คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์หุ่นยนต์ขึ้นมา จน

กลายเป็นหุ่นยนต์หรือ Robot ในปัจจุบันคำว่า Robot มาจากคำว่า Robota ใน ภาษาเช็ก ซึ่งแปลโดยตรงว่า การทำงาน

เสมือนทาส ถือกำเนิดขึ้นจากละครเวทีเรื่อง“Rassum’s Universal Robots” ในปี ค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของ

คาเวล คาเปก  (Kavel Capek)เนื้อหาของละครเวทีมีความเกี่ยวพันกับจินตนาการของมนุษย์ ในการใฝ่หาสิ่งใดมาช่วยใน

การปฏิบัติงานการประดิษฐ์คิดค้นสร้างหุ่นยนต์จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นเสมือนทาสคอยรับใช้มนุษย์ การใช้ชีวิตร่วมกัน

ระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ดำเนินต่อไปจนกระทั่งหุ่นยนต์เกิดมีความคิดเช่นเดียวกันมนุษย์ การถูกกดขี่ข่มเหงเช่นทาส

จากมนุษย์ทำให้หุ่นยนต์เกิดการต่อต้านไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างอีก ซึ่งละครเวทีเรื่องนี้โด่งดังมากจนทำให้คำว่า Robot เป็นที่

รู้จักกันทั่วโลกในสมัยนั้นจนถึงปัจจุบันกาลด้วย หลังจากนั้นก็มีการสร้างหุ่นยนต์จากความคิดมนุษย์หลายประเทศทั่วโลก

อาทิ เช่น ประเทศญี่ปุ่น สร้าง karakuri-ningyo  ซึ่งเป็นหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารตัวแรกในประเทศ เป็นต้น หลังจากนั้น 21 ปี

ก็มีนักประพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชื่อ Isaac Asimov เป็นคนที่สร้างแรงดึงดูดให้กับเด็กรุ่นต่อมาสนใจ

เรื่องหุ่นยนต์ อย่างมาก ในบทประพันธ์เรื่อง (Runaround) ซึ่งได้บัญญัติกฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ คือ 1.หุ่นยนต์ห้ามทำ

ร้ายมนุษย์  2.หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังมนุษย์  3.หุ่นยนต์ต้องป้องกันตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงในยุคสมัยนั้นยังไม่มีหุ่นยนต์

จริง เป็นเพียงแค่จินตนาการในปี ค.ศ. 1942 คำว่า robot ได้กลายเป็นจุดสนใจของคนทั่วโลกอีกครั้ง เมื่อ

ไอแซค อสิมอฟ นักเขียนนวนิยายแนววิทยาศาสตร์ได้เขียนเรื่องนวนิยายสั้นเรื่อง Runaround ซึ่งได้ปรากฏคำว่า

robot ในนิยายเรื่องนี้ และ ต่อมาได้นำมารวบรวมไว้ในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง I-Robot ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำ

Page2

หุ่นยนต์นาฬิกา

ความรู้จักกับคำว่า Robot เป็นครั้งแรกจากนวนิยายเรื่องนี้ หุ่นยนต์จึงกลายเป็นจุดสนใจและเป็นแนวคิดและจินตนาการ

ของนักวิทยาศาสตร์ ในการคิดค้นและประดิษฐ์หุ่นยนต์ในอนาคตคุณรู้มาก่อนไหม ! ว่าสมัยโบราณการดูเวลาจะใช้

นาฬิกาแดด เป็นเครื่องบ่งชี้เวลาแต่สามารถใช้ได้เพียงแค่เวลากลางวันเท่านั้นส่วนนาฬิกาทรายจะใช้บอกเวลาในเวลา

กลางคืน จึงได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องจักรกลสำหรับบอกเวลาให้แก่มนุษย์เพื่อความสะดวกในการนับวัน เวลาใน

แต่ละวันในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ คือ นาฬิกาน้ำ (Clepsydra) โดย Ctesibiua of Alexandria นักฟิสิกส์ชาว

กรีกในปี 250 ก่อนคริสตกาล นาฬิกาน้ำนี้ใช้บอกเวลาแทนมนุษย์ที่แต่เดิมต้องบอกเวลาจากนาฬิกาแดดและนาฬิกา

ทราย โดยใช้พลังงานจากการไหลของน้ำเป็นตัวผลักทำให้กลไกของนาฬิกาน้ำทำงาน และถือเป็นเครื่องจักรเครื่องแรก

ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับทำงานแทนมนุษย์ หลังจากนั้นต่อมาในปี ค.ศ. 1940 – 1950 หุ่นยนต์ชื่อ Alsie the

Tortoise ได้ถือกำเนิดขึ้นโดย  Grey Walter หุ่นยนต์รูปเต่าสร้างจากมอเตอร์ไฟฟ้านำมาประกอบเป็นเครื่องจักร

สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยล้อทั้ง 3 ต่อมาหุ่นยนต์ชื่อ Shakey ได้ถูกสร้างขึ้นให้สามารถเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกับ

Alsie the Tortoiseโดย Standford Research Institute:SRI แต่มีความสามารถเหนือกว่าคือมีความคิดเป็นของตน

เองโดยที่Shakey จะมีสัญญาณเซนเซอร์เป็นเครื่องบอกสัญญาณในการเคลื่อนที่ไปมา ซึ่งนอกเหนือจากหุ่นยนต์ที่

สามารถเคลื่อนที่ไปมาด้วยล้อแล้วยังมีหุ่นยนต์บางชนิดที่สามารถเคลื่อนที่ไปมาด้วยขาซึ่งในปีต่อมา ค.ศ.1960 มีการส

ร้าง หุ่นยนต์ที่ชื่อ General Electric Walking Truck ที่สามารถเดินได้ด้วยขาก็ถือกำเนิดขึ้น มีขนาดโครงสร้างใหญ่

โตและหนักถึง 3,000 ปอนด์ สามารถก้าวเดินไปด้านหน้าด้วยขาทั้ง 4 ข้างด้วยความเร็ว4 ไมล์/ชั่วโมงโดยการใช้

คอมพิวเตอร์ควบคุมการเคลื่อนไหว General Electric Walk Truck ได้รับการพัฒนาโครงสร้างและศักยภาพโดย

วิศวกรประจำบริษัท General Electric ชื่อ Ralph Moserภายหลังจากที่หุ่นยนต์เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หุ่นยนต์เริ่มเข้า

มามีบทบาทความสำคัญในด้านต่าง ๆ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์ โรงงานอุตสาหกรรมเริ่มมีความคิดใช้หุ่นยนต์

แทนแรงงานมนุษย์เดิม

Page3

หุ่นยนต์ด้านอุตสาหกรรม

ตัวแรกที่ชื่อ Unimates ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1950 – 1960 โดย George Devol และ Joe Engleberger ซึง

ต่อมา Joe ได้แยกตัวออกมาจาก George โดยเปิดบริษัทสร้างหุ่นยนต์ในชื่อของ Unimationซึ่งต่อมาผลงานในด้าน

หุ่นยนต์ของ Joe ได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งหุ่นยนต์ด้านอุตสาหกรรม” ส่วนหุ่นยนต์ตัวแรกของโลก ก็เกิดขึ้นเมื่อปี

1954 โดย George Devolวิศวกร ชาวอเมริกา ที่สามารถคิดค้นประดิษฐ์แขนของหุ่นยนต์ อย่างง่ายที่สามารถเคลื่อนไหว

ทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรม จากจุดนี้เองที่ทำให้การพัฒนาหุ่นยนต์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลังจากที่แยกตัวออกจาก Joeต่อมาภายหลังในระยะเวลากว่ากึ่งศตวรรษจนมาถึงวันนี้มีหลายประเทศ ที่เป็นประเทศมหา

อำนาจทางด้านเทคโนโลยีการผลิตหุ่นยนต์ ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็น หนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในเรื่องของ  วิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีถือเป็นต้นกำเนิดของหุ่นยนต์บนโลกมีความหลากหลายของหุ่นยนต์ เน้นในการที่จะนำไปใช้งานได้จริง

อย่าง เช่น ในปี 1959 บริษัท Planet Corporation ได้สร้างหุ่นยนต์ที่เป็น First Commercial Robot ขึ้นมาเพื่อวัตถุ

ประสงค์ทางงานด้านอุตสาหกรรมตามมาติดๆ ในปี 1962 ด้วยบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์อย่าง GM general motor ก็

ใช้หุ่นยนต์ แต่ที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุด ก็คงเป็นหุ่นยนต์ขององค์การ NASA ที่ไปสำรวจดาวอังคารที่ชื่อ

MarsSojourner  เป็นหุ่นยนต์ที่ส่งไปสำรวจดาวอังคาร ในปี1997 และ หุ่นยนต์ Spirit กับ Opportunity ที่ถูกส่งตามไป

สำรวจดาวอังคารเมื่อต้นปีที่ผ่านมาซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของเทคโนโลยีในโลกของหุ่นยนต์เลยทีเดียว แต่เยอรมันเป็น

ประเทศที่มีขีดความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมสูงจึงผลิตหุ่นยนต์ของประเทศเน้นไปในเรื่องของหุ่นยนต์เพื่อการผลิต

โดยลักษณะของหุ่นยนต์เป็นหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมโครงสร้างจะเป็นลักษณะของแขนหุ่นยนต์ในโรงงานประกอบ

รถยนต์ ซึ่งในประเทศเยอรมนี มีบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงในโลกอยู่หลายแห่ง เช่น บริษัท

KUKA และ บริษัท ABB

 Page4

Humanoid

 ดังนั้นจึงไม่สงสัยเลยว่าทำไมประเทศเยอรมัน ถึงมีความเป็นมหาอำนาจในการผลิตรถยนต์ที่โด่งดังของโลก หรือแม้แต่

งานที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องจักรกล ซึ่งมีความทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้านเอเชีย ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เกิดการ

พัฒนาทางด้านการผลิตหุ่นยนต์จากจินตนาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากการ์ตูน ลักษณะของหุ่นยนต์หลายตัวจึงเป็น

ลักษณะ Humanoid หรือหุ่นยนต์ที่มีลักษณะทางกายภาพเหมือนคน ลักษณะของหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาอาจจะไม่ได้นำ

ไปใช้งานแต่เป็นการคิดเพื่ออนาคต มีลักษณะเหมือนคนมากที่สุดทั้งในเรื่องของการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งต้องใช้

เทคโนโลยีชั้นสูงและยังมีหุ่นยนต์ที่โดดเด่นอย่าง AIBO หุ่นยนต์สุนัขที่สามารถโต้ตอบกับคนได้ ซึ่งมีการนำ AIBO มา

ใช้ในห้องทดลองวิจัยหลายมหาวิทยาลัยด้วยกัน สามารถติดต่อสื่อสารผ่านคลื่นอินฟราเรดได้ซึ่งในอนาคตจะมีการ

พัฒนาไปสู่หุ่นยนต์บริการในบ้าน และยังมีหุ่นยนต์ในลักษณะ Humanoid อีกตัว SDR-4X, หุ่นยนต์ R100 ที่กำลังพัฒนา

ให้เป็นหุ่นยนต์บริการที่ใช้ในบ้าน และ สามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้เป็นไปในรูปแบบของ Partner Robot 10 ปีต่อมา

ในปี 1952 การ์ตูนเรื่อง Astro Boy ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการ์ตูน ที่คงอยู่ในความทรงจำของคนหลายคน และด้วย

หุ่นยนต์ตัวเอกชื่อ Tetsuwan Atom หุ่นยนต์ที่สามารถบินได้ โดยเวลาบินจะมีไฟ่พ่นออกมาจากเท้า การ์ตูนเรื่องนี้ถือว่า

ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมา เช่นเดียวกับตัวหุ่นยนต์ R2D2 เป็นหุ่นยนต์กระป๋อง และ

หุ่นยนต์ C3po ในภาพยนต์เรื่อง Star Wars ที่ทำให้ภาพของหุ่นยนต์อยู่ในความนึกฝันและจินตนาการของใครหลาย คน

ในช่วงยุคของเทคโนโลยีที่นำมาเสนอในภาคการ์ตูนซึ่งในช่วงนี้ญี่ปุ่นรุ่งเรืองในด้านเทคโนโลยีมาก หลังจากที่ทราบความ

เป็นมาของหุ่นยนต์ประเทศอื่นแล้วลองมองย้อนมาที่บ้านของเรากันบ้าง ในขณะที่ทั่วโลกต่างพากันพัฒนาเทคโนโลยีการ

สร้างหุ่นยนต์ในประเทศไทยเราเอง ก็ได้ตามเกาะติดแวดวงเทคโนโลยีการผลิตหุ่นยนต์กับนานาชาติเช่น เดียวกัน โดย

เฉพาะการแข่งขันหุ่นยนต์ในบ้านเราที่ผ่านมามักเน้นไปในลักษณะEdutainment คือเป็นความสนุกควบคู่ไปกับการเรียนรู้

ในเกมการแข่งขันมากกว่า ซึ่งก็สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีระดับโลกไม่น้อยเลย และที่น่าสนใจตอนนี้มี

โครงการการแข่งขันประกวด

Page5

หุ่นยนต์กู้ภัย

ในระดับนักศึกษาในโครงการ Thailand Rescue RobotChampionship 2004 ซึ่งถือว่าเป็นรายการแรกของประเทศ

ไทย ที่มีการแข่งขันการสร้างหุ่นยนต์กู้ภัย เพื่อช่วยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ในการเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความ

เสี่ยงอันตราย เช่น เหตุเพลิงไหม้, ตึกถล่ม หรือภัยจากเหตุวินาศกรรมนับว่าเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม และ

น่าติดตามเป็นอย่างยิ่งถึงความสามารถของเด็กไทยกับการพัฒนาความสามารถทางด้านเทคโนโลยีไปสู่ระดับโลก ซึ่งแม่

งานใหญ่ในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก สมาคมวิชาชีพหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ เครือซิเมนต์ไทย ส่งเสริม

กิจกรรมที่ดีมีคุณค่าให้เกิดขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการส่งเสริมเยาวชนไทยได้คิดเป็น และสร้างสรรค์ผลงานที่ดีเพื่อโลกใน

อนาคต อีกทางหนึ่งและ เมื่อมนุษย์ได้รู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าความคิดสร้างสรรค์ในการควบคุมเครื่องจักรโดยไม่

ต้องใช้กระแสไฟฟ้าก็เริ่มขึ้น Nikola Tesia เป็นบุคลแรกที่สามารถใช้คลื่นวิทยุในการควบคุมหุ่นยนต์เรือขนาดเล็กใน

กรุงนิวยอร์ก ในปี ค.ศ. 1898 ภายในงานแสดงผลงานทางด้านไฟฟ้าอีกด้วยมนุษย์คิดค้น หุ่นยนต์ ขึ้นมาเพื่อเป็นผู้ช่วย

การทำงานรูปแบบต่างๆ..ย้อนกลับไป 500 กว่าปีก่อนในสมัยที่ ลีโอนาร์โด ดา วินชี่ คิดค้นหุ่นยนต์ตัวแรกจนถึงปัจจุบัน

หน้าตาและประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ได้พัฒนามาไกลมากจนถึงขั้นทำหน้าที่ออกไปสำรวจดาวดวงอื่นแทนมนุษย์

นิตยสาร  รวบรวมสุดยอดหุ่นยนต์จากอดีตสู่อนาคต สแตนลีย์สแตนลีย์ คือชื่อของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งพัฒนา

โดยทีมนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ดโดยดัดแปลงนำเอารถโฟล์กสวาเกน Touareg ให้กลายเป็นรถยนต์

หุ่นยนต์ที่สามารถวิ่งได้บนทุกสภาพพื้นผิว ทั้งยังเลือกเส้นทางวิ่งและหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้เองโดยอัตโนมัติเจ้าหนู

ปรมาณูคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับหุ่นยนต์ผู้พิทักษ์คุณธรรมในโลกจินตนาการตัวนี้ เจ้าหนูปรมาณู (Astro Boy)มีต้นกำเนิด

จากปลายปากกาการ์ตูนนิสต์ญี่ปุ่นเมื่อปีพ.ศ.2494 และเป็นหนึ่งในผู้สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่

เด็กญี่ปุ่นมานับตั้งแต่วันนั้นจนถึงทุกวันนี้หุ่นสำรวจดาวอังคาร หุ่นยนต์บางตัวทำหน้าที่อยู่ได้แค่บนพื้นโลก แต่สำหรับ

สปิริต กับ ออพพอร์ทูนิตี้

Page6

หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร

อวกาศสหรัฐอเมริกา (นาซ่า) 2 ตัวนี้แตกต่างออกไป เพราะไปเก็บข้อมูลบนดาวอังคารส่งกลับมายังพื้นโลกเพื่อให้นาซ่า

ไขปริศนาว่าบนดาวอังคารมีสิ่งมีชีวิตหรือน้ำซ่อนอยู่หรือไม่ร็อบบี้ เดอะ โรบ็อตเจ้าหุ่นร็อบบี้หรือ ร็อบบี้ เดอะ โรบ็อต เป็น

ตัวละครเอกของภาพยนตร์ไซ-ไฟอเมริกันระดับตำนานเรื่องฟอร์บิ้ดเด้น แพลเน็ต ที่ออกฉายในปีพ.ศ. 2499  จนกระทั่ง

เจ้าร็อบบี้กลายเป็นต้นแบบในการออกแบบโครงสร้างหุ่นยนต์ของจริงหลายๆรุ่น เชคกี้หุ่นยนต์รุ่น เชคกี้ พัฒนาเสร็จ

สมบูรณ์ในปีพ.ศ.2515 โดยสถาบันวิจัยนานาชาติสแตนฟอร์ด นับเป็นหุ่นยนต์จักรกลตัวแรกของโลกที่สามารถเคลื่อนที่

ไปยังตำแหน่งของวัตถุที่กำหนดไว้และหมุนตัวไปรอบๆ วัตถุได้ คิวริโอหุ่นยนต์แบบแอนดรอยด์ รุ่น คิวริโอ ของบริษัทโซ

นี่ สามารถใช้ 2 ขาของมันเดินบนพื้นราบ เดินขึ้นลงบันได วิ่ง กระโดด และเต้นระบำรำพัดได้ โซนี่ใช้คิวริโอเป็นเหมือน

กับโฆษกประจำบริษัท และตั้งเป้าว่าจะผลิตขายเชิงพานิชย์ในฐานะสินค้าเพื่อความบันเทิงอัศวินจักรกลย้อนอดีตกลับไป

สิ่งๆ หนึ่งซึ่งเชื่อว่าอาจเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของโลก นั่นคือ ชุกเกราะอัตโนมัติที่ใช้ข้อเหวี่ยงบังคับการลุกนั่ง ไกลถึงปี

พ.ศ.2038 อัจฉริยะของโลกคนหนึ่งนามว่า ลีโอนาร์โด ดา วินชี่ ทดลองประดิษฐ์โบกมือ รวมทั้งขยับเกราะตรงปากได้

ด้วยตัวเอง และอีก 500 ปีต่อมา มาร์ก โรเชม วิศวกรแห่งยุคดิจิตอลก็นำชุดเกราะของดา วินชี่ มาสร้างแบบจำลองดังที่

เห็นในภาพ คุณหมอไฮเทคอีกไม่นานนับจากนี้ ระบบการทำงานที่สอดประสานอย่างแม่นยำระหว่างหุ่นยนต์กับ

คอมพิวเตอร์ จะกลายเป็น หมอไฮเทค ที่ช่วยให้คนไข้บาดเจ็บและเสียเลือดน้อยที่สุดจากการผ่าตัด ล่าสุด โลกได้รู้จัก

กับระบบหุ่นยนต์ผ่าตัด ดาวินชี่ ซึ่งประกอบด้วยแขนกล กล้องวิดีโอ และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ทำให้ศัลยแพทย์ลง

มือผ่าตัดคนไข้อย่างแม่นยำยิ่งกว่าการใช้มือตนเองลงมีดนักสำรวจภูเขาไฟในปี 2536 สถาบันคาร์เนกี้ เมลลอน ต้องสูญ

เสียคณะนักสำรวจภูเขาไฟมือดีไปถึง 8 คน เพราะเหตุภูเขาไฟระเบิดขณะการสำรวจ ส่งผลให้ปีถัดมาทางสถาบันจึง

พัฒนาและส่งหุ่นยนต์ ดันเต้ ทู ไปเก็บข้อมูลในปากปล่องภูเขาไฟแทนมนุษย์ อัลเบิร์ต ฮูโบเดวิด แฮนสันและสถาบัน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ประเทศเกาหลีใต้ ร่วมกันสร้าง

Page7

หุ่นยนต์เดิน 2 ขาคล้ายมนุษย์

รุ่น อัลเบิร์ต ฮูโบ พร้อมกับเล่นมุขจำลองใบหน้าส่วนหัวของหุ่นยนต์ ซึ่งผิวด้านนอกทำจากโพลิเมอร์ให้เหมือนกับ อัล

เบิร์ต ไอน์สไตน์ ยอดอัจฉริยะนักฟิสิกส์ ถือเป็นหุ่นอีกหนึ่งตัวที่แสดงอารมณ์ผ่านใบหน้าได้ใกล้เคียงกับคนโรโบนอท

โรโบนอท คือต้นแบบหุ่นยนต์สำหรับใช้ในการปฏิบัติภารกิจในสถานีอวกาศ นานาชาติ (ไอเอสเอส) อยู่ในระหว่างการ

พัฒนาโดยองค์การอวกาศสหรัฐ หรือ นาซ่า คาดว่ามันจะเป็นลูกมือสำคัญของมนุษย์อวกาศบนไอเอสเอสในอนาคตคน

ไทยมีศักยภาพที่จะแสดงบทบาทนำในเรื่องนี้ได้เพราะความเป็นประเทศเกษตรกรรม  อันที่จริงผมเริ่มสนใจ Farming

Robots ตั้งแต่เมื่อผมได้รับบัญชาให้เดินทางไปศึกษาเรื่อง “เขื่อนใต้ดิน” ที่เกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น กับ ดร. รอยล

จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เราทั้งสองมีโอกาสได้ผ่านไปที่ มหาวิทยาลัย

ซึกุบะ ได้เห็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในการดำต้นกล้า แม้ยังอยู่ในขั้นทดลองแต่ต้องยอมรับว่ามีสมรรถนะดี อย่างไรก็ตาม เมื่อผม

ได้นำแนวความคิดนี้ไปปรึกษาผู้รู้ด้านลักษณะพื้นที่การเพาะปลูกของประเทศเรา  หลายท่านเตือนว่า ประเทศเราไม่มีรูป

แบบแปลงเพาะปลูกที่แน่นอน แตกต่างจากบางประเทศ เช่น มาเลเซีย เขามีการเวนคืนที่ดินเพื่อจัดสรรแปลงมาตรฐาน

ขนาดใหญ่สำหรับปลูกต้นปาล์ม ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นการจัดการเชิงอุตสาหกรรมทำให้การพัฒนาอุปกรณ์ และเครื่อง

จักรกลที่เกี่ยวข้องมีรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจน จนสามารถคาดคะเนและจัดการเรื่อง Productivity ได้  ในอดีตทีมฟีโบ้

เคยรับเชิญจากอุตสากรรมน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของไทย ให้ไปแก้ปัญหาการเก็บเกี่ยวผลปาล์ม โดยเฉพาะกรณีที่ต้น

ปาล์มสูงเกิน 18 เมตร สูงมากจนกระทั่งทั้งคนและลิงเก็บไม่ค่อยไหวแล้วครับ ปัจจุบันเจ้าของสวนต้องยอมตัดต้นสูงๆ

เหล่านี้ทิ้งทั้งๆที่ยังให้ผลผลิตต่อไปได้ในขณะยังอยู่ที่ฟีโบ้พวกเราได้ประเมินว่า สร้างเป็น “

Page8

หุ่นยนต์ลิง”

คงไม่ได้การแน่แม้เราได้พัฒนากลไกการเป็นต้นปาล์มแล้ว เนื่องจากส่วนยอดของต้นปาล์มรกรุงรังจากกาบเก่าที่แห้ง

และแข็ง ทีมงานจึงคิดว่าน่าจะสร้างเลียนแบบรถ “Folk Lifโดยเพิ่มเติมกลไกจับยึดกับลำต้นเพื่อมิให้โอนเอนเมื่อต้องยื่น

ซ่อม(Folk)ขึ้นไปสูงๆ  ครั้นพวกเราไปถึงหน้างานจึงพบว่าการจัดรูปร่างแปลงไม่แน่นอน มีข้อจำกัดในการติดตั้ง เพราะ

รอบๆ ต้นเป็นกลุ่มรากที่อาจกระทบกระเทือนจากของหนักกดทับ  ที่มงานจึงยอมแพ้ต้องกลับมาคิดใหม่พัฒนาการใหม่

หุ่นยนต์ผ่าตัด

ดาวินชี่

หลายคนรู้จัก “ดาวินชี่” หรือ “Da Vinci Surgical System” ในนามของ “หุ่นยนต์ผ่าตัดหัวใจ” ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับ

ของศัลยแพทย์ผู้ผ่านการฝึกอบรมการใช้เทคนิคชนิดนี้จนเกิดความชำนาญเฉพาะด้าน โดยมีแขนดาวินชี่เปรียบเสมือน

มือผ่าตัดที่ต้องอาศัยการควบคุมโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวคือ หุ่นยนต์ดาวินชี่ ประกอบด้วย 4 แขน แต่ละแขนมี

เส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1.5 เซนติเมตรแขนที่ 1เป็นกล้องสำหรับส่องเข้าไปเห็นภายในระบบหัวใจได้ลึกและชัดเจน ทำ

ให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นหัวใจของผู้ป่วยผ่านแขนข้างนี้ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมการผ่าตัด โดยสั่งการการ

เคลื่อนไหวหุ่นยนต์จากแผงควบคุมภายนอก ซึ่งควบคุมแขนอีก 3 แขนที่เหลือที่ทำหน้าที่เป็นคีม และกรรไกรขนาดจิ๋วที่

หมุนได้รอบทิศทาง ทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้อย่างแม่นยำกว่ามือคนโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ นอกจากจะมีบุคลากร

ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดหัวใจแล้ว ยังได้นำเข้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพร้อมช่วยในการผ่าตัดหัวใจเป็นแห่ง

แรกและแห่งเดียวในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทางโรงพยาบาลเริ่มใช้ “ดาวินชี่” เข้ามาช่วยในการผ่า

ตัดหัวใจผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการรักษาโดยหุ่นยนต์ “ดาวินชี่” ทั้งสิ้น 12 คน

ขณะนี้ทั้ง 12 คนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนทั่วไป

Page9

หุ่นยนต์แคดดี้

ผู้ช่วยนักกอล์ฟที่แสนทันสมัย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไม่มีที่สิ้นสุดจริง ๆ สำหรับหุ่นยนต์แบบใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา

เป็นหุ่นยนต์แคดดี้ ที่สามารถทำงานได้เหมือนกับคนที่ทำงานเป็นแคดดี้ในสนามกอล์ฟ โดยจะสามารถทำหน้าที่แบกถุง

กอล์ฟ เดินตามผู้เล่นไปได้ทั้งวันแบบไม่เหน็ดเหนื่อยและไม่มีบ่น แถมยังไม่หัวเราะเยาะหากคุณตีพลาดอีกด้วย นักเล่น

กอล์ฟทั้งหลายอาจจะสนใจหุ่นยนต์แคดดี้มาเป็นผู้ติดตามส่วนตัวขณะออกรอบ เพราะหุ่นยนต์จะสามารถเดินตามเจ้าของ

และทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการแบกถุงกอล์ฟ การเก็บลูกกอล์ฟที่ผู้เล่นตีออกไปนอกบริเวณ พร้อม

ทั้งสามารถทำการลูกกอล์ฟที่ถูกตีหายไปได้ โดยหุ่นยนต์แคดดี้มีน้ำหนักอยู่ที่ 19 กิโลกรัม โดยเคลื่อนที่ด้วยล้อที่

สามารถเคลื่อนที่ได้บนพื้นหญ้าได้อย่างไม่มีปัญหา และหุ่นยนต์แคดดี้ยังมีระบบตรวจสอบเส้นทางในขณะเคลื่อนที่ไปบน

สนามกอล์ฟซึ่งจะทำให้หุ่นยนต์แคดดี้ไม่ตกหลุมทรายหรือตกไปในน้ำ  ที่ตัวของหุ่นยนต์แคดดี้จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ส่ง

สัญญาณทางไฟฟ้าที่สามารถส่งสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ตัวหุ่นยนต์แคดดี้กับเจ้าของ หรือผู้เล่นในเวลาที่

หุ่นยนต์แคดดี้ทำงานด้วย โดยผู้ใช้งานจะมีการติดอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่มีลักษณะเป็นเครื่องเล็กที่เข็มขัด เพียงแค่นี้ก็

จะให้หุ่นยนต์แคดดี้ทำงานกับผู้เล่นกอล์ฟคนนั้นๆได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งหุ่นยนต์แคดดี้จะมีระบบการตัดสัญญาณรบกวนของ

หุ่นยนต์แคดดี้ตัวอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ให้กับนักกอล์ฟคนอื่นๆที่ทำงานใกล้เคียงกัน จึงทำให้ไม่มีปัญหาในด้านการสับสนใน

การทำงานของหุ่นยนต์ที่จะไม่ทำงานให้ผิดคน และที่สำคัญภายในตัวของหุ่นยนต์แคดดี้จะมีการติดตั้งระบบที่สามารถ

ตรวจสอบบริเวณรอบข้างขณะทำการเคลื่อนที่ว่ามีหุ่นยนต์แคดดี้ตัวอื่นๆ หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ อยู่ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง

หรือไม่  ทำให้ไม่มีปัญหาในการเคลื่อนที่ชนกันหลังจากการเตรียมการมา 15 ปี หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ตัวแรกก็พร้อมที่จะ

ขึ้นไปปฏิบัติการในอวกาศแล้วหุ่นยนต์ผู้ช่วย หรือที่มีชื่อเรียกว่า Robonaut 2 นั้นได้ถูกบรรจุเก็บไว้ในกล่องที่ใส่โฟมกัน

กระแทกไว้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขนส่งมันสู่สถานีอวกาศนานาชาติหุ่นยนต์ Robonaut2 นี้มีมูลค่ามากกว่า 2.5

ล้านบาท มันได้ถูกทดสอบว่าจะสามารถทำงานได้อย่างดีในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ในปีถัดไปเจ้า Robonaut 2

จะสามารถทำให้มันทำงานได้หลากหลายมากขึ้นนายร็อบ แอมโบรส หัวหน้าแผนกงานพัฒนาระบบอัติโนมัติของหุ่นยนต์

และการสภาวะจำลองเสมือนจริงของศูนย์อวกาศจอนท์สัน ในเมืองฮูสตัน กล่าวต่อผู้สื่อข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม

พวกเราคาดหวังไว้ว่า เมื่อเราเริ่มโครงการ Robonaut ไปแล้ว เราจะสามารถสร้างสิ่งที่สามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว

เหมือนมนุษย์ และสิ่งนั้นมันก็คิดคือหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานได้อย่างดีและในเวลาเดียวกันก็ต้องมีความปลอดภัยและ

สามารถไว้วางใจได้เหมือนมนุษย์ ตัวเซนเซอร์ที่ใช้ตรวจจับวัตถุของหุ่นยนต์ถูกออกแบบมาอย่างดี โดยคำนึงถึงความ

ปลอดภัยสูงสุด เช่น ถ้ามันพบวัตถุที่มันไม่แน่ใจ(อย่างเช่นหัวของมนุษย์อวกาศ)ในเส้นทางเดินที่มันจะผ่าน มันจะถูก

โปรแกรมให้หยุดการเคลื่อนที่ หรือ ถ้ามีบางอย่างตีเจ้า Robonaut2 ด้วยแรงที่มากพอสมควร มันจะทำการปิดการทำงาน

ตัวเองโดยอัตโนมัติงานสองชิ้นที่นักพัฒนาต้องการทดสอบการทำคือ การสั่งให้มันล้างราวบันไดและการล้างไส้กรอง

สุญญากาศ ซึ่งเป็นสองงานอันน่าเบื่อที่มนุษย์อวกาศอยากให้หุ่นยนต์มาช่วยทำงานแทนตอนนี้ Robonaut2 เพิ่งจะมีแค่

ส่วนท่อนลำตัวเท่านั้น และมันกำลังถูกพัฒนาปรับปรุงอยู่ที่ห้องปฏิบัติการ U.S. ซึ่งในอนาคตทีมพัฒนาได้วางแผนไว้

ว่าจะทดสอบส่วนท่อนล่าง เพื่อที่จะทำให้ Robonaut2 นั้นมีความคล่องตัวมากขึ้น และจะทำให้มันสามารถปฏิบัติภารกิจ

ทั้งภายในและภายนอกสถานีอวกาศนานาชาติได้สำหรับการใช้งานหุ่น R2 ในสถานีอวกาศนานาชาตินั้นเป็นเพียงการเริ่ม

ต้นที่สำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ในอวกาศ จอห์นโอล์ซัน ผู้อำนวยการฝ่ายระบบสำรวจ

อวกาศแบบบูรณาการของNASA แถลงว่าสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสำรวจ

ระบบสุริยะจักรวาลและสามารถทำให้มนุษย์ก้าวล้ำและประสบผลสำเร็จมากกว่าที่ เคยคาดการณ์ไว้ในวันนี้ หุ่นยนต์

เสมือนมนุษย์ไม่เพียงแต่จะมีรูปร่างหน้าตาภายนอกคล้ายมนุษย์เท่า นั้นแต่ยังถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานใกล้เคียง

กับมนุษย์มากที่สุดอีกด้วย เจ้าหุ่น R2 มีแขนและมือที่ถูกออกแบบให้มีความคล้ายคลึงกับมือของมนุษย์โดยสามารถใช้

เครื่องมือที่มีอยู่บนสถานีอวกาศเสมือนที่มนุษย์อวกาศใช้ซึ่งในอนาคตอันใกล้ นี้หุ่นยนต์เสมือนมนุษย์จะสามารถปฏิบัติ

ภารกิจนอกสถานีอวกาศได้และยังสามารถ เป็นได้ทั้งผู้ช่วยและตัวแทนนักบินอวกาศในกรณีที่ต้องปฏิบัติภารกิจที่มี

ความยากลำบากหรืออันตรายสำหรับมนุษย์ ในสภาวะไร้น้ำหนักหรือต้องผจญกับรังสีอันตรายภายนอกตัว

Page10

หุ่นยนต์ช่วยแพทย์

เกิดขึ้นพร้อมกับความกังวลว่าคุณหมอจะถูกแยกตัวออกมาไม่ต้องไปดูแลรักษาคนไข้อย่างใกล้ชิดจนความชำนาญของ

คุณหมอค่อยๆจางหายไป เรื่องคลุกคลีดูแลคนไข้ในลักษณะ ปฏิบัติแล้วเก่ง” นี้แพทย์ไทยก็ติดอันดับโลกครับ โดยเห็น

ได้จากการที่หลายท่านประสบความสำเร็จในการผ่าตัดยากๆ และรักษาอาการของโรคที่ซับซ้อนได้ เมื่อผนวกกับการ

ดูแลเอาใจใส่ของพยาบาลไทยมืออาชีพแล้ว อาจถือว่าเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพเป็น “จุดแข็ง” ของประเทศได้ มี

ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งปรารภว่าหากมีการจัดการระดับประเทศอย่างจริงจังจากสำนักงบประมาณและภาคเอกชน ประเทศไทย

สามารถผงาดขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมงานบริการสุขภาพได้โดยไม่ยากเย็นนักอย่างไรก็ตาม เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้าน

รักษาสุขภาพสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำในปัจจุบันจึงเร่งพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อมาช่วย

เพิ่มคุณภาพและลดต้นทุนทางการแพทย์ ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีใต้มี สิทธิบัตร: ทรัพย์สินทางปัญญาทางด้าน

หุ่นยนต์ช่วยแพทย์มากถึง 28 เรื่องต่อปี จากแต่เดิมในปี 1998 มีเพียง 5 เรื่องเท่านั้น มากกว่า 60%เป็นการใช้หุ่นยนต์ใน

การผ่าตัด การตรวจสอบสภาพผิดปกติร่างกายเช่น มะเร็งเต้านม 19% ประยุกต์ใช้อุปกรณ์หุ่นยนต์ในลักษณะงานตรวจ

สอบสภาพลำไส้ 14% และ 9% สุดท้ายเกี่ยวกับการใช้หุ่นยนต์เพื่อกายภาพบำบัดของผู้พักฟื้นทางด้านกระดูกและกล้าม

เนื้อผงาดขึ้นสู่ระดับโลก” ได้ด้วยการจัดการะดับประเทศที่กล่าวไว้ตอนต้นในการผสานเทคโนโลยีกับ จิตวิญญาณ”

ของแพทย์พยาบาลไทยที่เอื้ออาทรยิ่งต่อคนไข้โดยไม่เลือกชาติและวรรณะการป้องกันการเจ็บป่วยมีค่าใช้จ่ายอยู่เพียง

ประมาณหนึ่งในสิบของการักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยจริง ในระยะหลังๆนี้เองประเทศก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์จึงมุ่ง

เน้นการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อตรวจสภาพร่างกาย

Page 11

หุ่นยนต์เพื่อคนพิการ

โดยมีแม่พิมพ์หลาย ๆ ขนาด เพื่อจะสร้าง เท้าเทียม…หน้าแข้งเทียม และโคนขาเทียม สำหรับผู้พิการขาขาดด้วยสารที่

เรียกว่า Polyethylene (P.E.) เมื่อผู้พิการขาขาดมาทำขาเทียม ก็จะเลือกขนาดของขาที่จะสวมลงไปให้หลวมเล็กน้อย

เพื่อจะได้ทำชั้นในรองตอขา โดยใช้สารเคมีที่ชื่อ Polyurethane (Polyol ผสม Polyisocyanate) เป็นฟองน้ำทำให้นุ่ม

และไม่เจ็บเวลาสวมใส่ขาเทียม และมีหนังแท้นิ่ม ๆ (ชามัว) รองทับหน้า เพื่อรับจุดสัมผัสกับตอขาของผู้พิการจะไม่เกิด

การเสียดสีจนเป็นแผล นอกจากนี้ยังช่วยระบายอากาศเวลาสวมใส่ได้อย่างดี เมื่อทำซับในรองตอขาเสร็จก็ตัดความยาว

ให้ได้ตามขนาดของขาที่ต้องการ จึงเป็นระบบใหม่ในการทำขาเทียมสำเร็จรูป ช่วยให้การทำขาเทียมรวดเร็ว และใช้เวลา

ในการทำขาเทียมใต้เข่าประมาณ 3 ชั่วโมง และขาเทียมเหนือเข่าประมาณ 5-6 ชั่วโมง ต่อหนึ่งขา เครื่องมือในการ

ประกอบขาเทียมก็มีเพียงสว่านและคัทเตอร์เท่านั้น จึงทำให้ประหยัดงบประมาณในการลงทุน นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่มีที

ไหนในโลกที่ได้คิดทำมาก่อน และที่สำคัญที่นี่ทำฟรีและก็ไม่มีขอรับเงินบริจาคผู้ใด…เรามาช่วยกันหาความจริงจากสิ่งดี

เหล่านี้หน่อยเถอะครับ เพราะตั้งแต่ปี 2541-2548 เป็นเวลา 8 ปี แล้วนะครับ ที่โครงการนี้เกิดขึ้นมาหุ่นยนต์รถเข็นปรับยืน

ได้ สิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการ รถเข็นปรับยืนได้ สิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการนำเอาเทคโนโลยีเพื่อการช่วยเหลือรูปแบบใหม่

มาใช้ในการสนับสนุนให้คนพิการ และผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างคล่องตัว ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายในการประกวด

ผลงานการออกแบบของนักศึกษา หรือ Student Design Challenge (SDC) ที่เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของงานประชุม

วิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟู สมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการi-CREATซึ่งจัด

ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเน้น สิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ในหัวข้อ

Page 12

Human Machine Interface

หนึ่งในโครงการที่ส่งเข้าประกวดของนักศึกษาไทย คือรถเข็นคนพิการแบบปรับยืนได้ แม้ว่าจะเป็นเพียงโครงงานวิจัย แต่

ก็ได้รับความสนใจจากผู้ป่วยพิการ โดยเฉพาะที่ผู้ประสบปัญหาทางด้านสภาพร่างกายพิการ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

ติดต่อสั่งทำเพื่อใช้งานจริง ในสนนราคาที่ถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศนับสิบเท่าManual Standing Wheelchair หรือ

รถเข็นคนพิการแบบปรับยืนได้โดยไม่ต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นผลงานจากโครงงานวิจัยของกลุ่มประดิษฐ์ นักศึกษาชั้น

ปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งนายนิรันดร์ ใหม่โปธิ ร่วมกับเพื่อนอีก 2 คน

คือ นายกรณรงค์ ศรีมี และนายอนุสิทธ์ ศรีจรรยา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ เป็นอาจารย์ที่

ปรึกษาโครงงาน ภายใต้แนวคิดว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้ป่วยที่ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ สามารถยืนได้อีกครั้ง รถเข็นที่

ปรับยืนได้จึงเป็นคำตอบ ทั้งนี้ จากการค้นหาข้อมูลพบว่ามีการประดิษฐ์รถเข็นปรับยืนได้ในต่างประเทศแล้วแต่ ไม่มีเรื่อง

รายละเอียดของการประดิษฐ์ นักศึกษาจึงตัดสินใจที่จะออกแบบเอง โดยติดต่อไปที่ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟู

สมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ? เพื่อศึกษาขอข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการ รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย

ที่เคลื่อนไหวไม่ได้ว่าเป็นอย่าง ไร เพื่อให้การออกแบบมีความเหมาะสมมากที่สุด จากนั้นจึงส่งไปทำการผลิตในโรงงาน

ไทยวีล มูลนิธิคนพิการไทย ที่ปากเกร็ด ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการผลิตรถเข็นสำหรับผู้พิการที่ป่วยเป็น อัมพาตอยู่

แล้ว รูปแบบของรถเข็นคนพิการแบบปรับยืนได้ ที่นักศึกษาของภาควิชาออกแบบและประดิษฐ์มี 3 รูปแบบ คือ แบบ

Manual คือผู้ป่วยแข็งแรงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในการพยุงตัวเพื่อยืนขึ้นบน เก้าอี้เข็น แบบที่สอง เป็นแบบกึ่ง

อัตโนมัติ คือ ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง แต่อาจไม่มีแรงในบางครั้ง ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการยืนเสริม แบบสุด

ท้าย เป็นแบบ Full Power มีการติดมอเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติพร้อมปุ่มปรับเลื่อนขึ้นลงโดยอัตโนมัติซึ่งเป็นแนวคิดที่

นิรันดร และเพื่อน ๆ พัฒนาปรับปรุงต่อยอด สำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ผู้ช่วยศาสตราจารย์

บรรยงค์ กล่าวเสริมว่า เมื่อมีการนำผลงานของนักศึกษาเหล่านี้ออกแสดงสาธิตโดยมีสื่อต่าง ๆ ที่สนใจนำไปเผยแพร่

ปรากฏว่ามีผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยติดต่อมาที่ภาควิชา ขอให้จัดทำรถเข็นในแบบดังกล่าวให้ เนื่องจากมีต้นทุนถูกกว่า

สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 10 ราย มีการจัดส่งให้นำไปใช้งานแล้วจำนวนหนึ่ง รถเข็นปรับยืน

ได้ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ มีต้นทุนเฉลี่ยตั้งแต่ 15,000-50,000 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบ

อุปกรณ์ที่ใช้ โดยส่วนประกอบทั้งหมดใช้ของที่ทำในประเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แทนการสั่งซื้อจากต่าง

ประเทศที่ส่วนใหญ่มีราคาอยู่ที่ประมาณ 150,000-300,000 บาท และมีปัญหายุ่งยากในเรื่องการบำรุงรักษา เนื่องจาก

เป็นสิ่งประดิษฐ์นำเข้า

Page 13

หุ่นยนต์ช่วยคนอัมพาต

นางยุทธณี จันทร์บุญ ชาวจังหวัดนครสวรรค์ ที่ป่วยเป็นอัมพาตช่วงล่าง และประสบปัญหาเกิดแผลกดทับจากการนั่งหรือ

นอนเป็นเวลานาน ตัวอย่างของผู้ป่วยที่ใช้บริการรถเข็นปรับยืนได้กล่าวว่า ?หลังจากทราบข่าวก็ได้ติดต่อมาที่ มธ. ให้

ผลิตให้ มีค่าใช้จ่ายรถเข็นเพียง 15,000 บาท แทนที่จะซื้อของจากต่างประเทศที่มีราคาแพงมาก หลังจากใช้งานได้

ประมาณครึ่งเดือนก็รู้สึกว่าดีขึ้น แผลที่เกิดจากการกดทับเบาบางลง รู้สึกเลือดลมหมุนเวียนสะดวกเพราะได้ปรับท่ายืนได้

ทำให้การเคลื่อนไหวคล่อง ขึ้นกว่าเดิม และยังได้รับการแนะนำจากทางแพทย์ให้ปรับสภาพร่างกายเพื่อให้มีการเคลื่อน

ไหว ที่ดีขึ้นนอกจากนี้ยังมีมารดาของผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อต เป็นอัมพาตทั้งตัว ที่ต้องการจะได้รถเข็นแบบ

ปรับยืนได้นี้ไปช่วยในการทำกายภาพบำบัด และอีกหลายรายที่มีปัญหาเป็นอัมพาตครึ่งท่อนล่าง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง

ผศ.ดร.บรรยงค์ ย้ำว่า หากผู้ป่วยที่ต้องการติดต่อให้ทางภาควิชาออกแบบเพื่อจัดทำรถเข็นแบบปรับยืน ได้ให้นั้น ต้อง

ผ่านการปรึกษาจากแพทย์ผู้รักษาก่อน เนื่องจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยบางคนอาจไม่สามารถปรับยืนได้ การออกแบบ

จึงต้องให้เหมาะสมกับสรีระ น้ำหนัก และสภาพการป่วยเจ็บของผู้รับการรักษาด้วย และการผลิตในแต่ละรายก็ต้องมีการ

ทดลอง ปรับปรุงหลายครั้งเพื่อให้เกิดความเหมาะสมที่สุดผลงานออกแบบและสิ่งประดิษฐ์รถเข็นคนพิการแบบปรับยืนได้

นี้เป็นทางออกหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้พิการสามารถกลับมาช่วยตัวเองในการดำรง ชีวิตประจำวันได้ และสามารถกลับมาทำ

งานได้ใกล้เคียงคนปรกติอีกครั้ง นอกเหนือจากรถเข็นคนพิการ แบบปรับยืนได้ ยังมีผลงานการออกแบบของนักศึกษา

ไทยส่งเข้าร่วมประกวดอีก ได้แก่ เครื่องช่วยสำรวจตำแหน่งสิ่งกีดขวางของผู้พิการทางสายตา ระบบนำทางผู้พิการทาง

การมองเห็น ด้วย RFID ระบบสั่งงานอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเสียง ระบบติดตามดูแลคนพิการหรือผู้สูงอายุในบ้าน เครื่อง

คอมพิวเตอร์เบรลล์แบบพกพา เครื่องช่วยบริหารข้อเข่าแบบไฮบริด รวมถึงนักศึกษาจากประเทศต่าง ๆ รวม 19 โครงการ

ซึ่งมีการจัดแสดงในงาน  i-CREATe 2008 ระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2551 โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค ที่ผ่านมา

งานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่ง อำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ i-

CREATe 2008 ซึ่งประเทศไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เป็นเจ้าภาพ

ร่วมกับ START Centre สิงคโปร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการองค์กามหาชน

มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติด้าน การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และ

เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟู

สมรรถภาพคนพิการและผู้สูง อายุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

 Page 14

 หุ่นยนต์กล้อง

มนุษย์ตาหุ่นยนต์ หรือ นายร็อบ สเปนเซอร์ อายุ 36 ปี ผู้ประดิษฐ์กล้องขนาดจิ๋วที่ทดแทนดวงตาข้างที่สูญเสียรายแรก

ของโลกสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นิตยสารไทม์ ได้ยกย่อง<strong> นายร็อบ สเปนเซอร์ อายุ 36 ปี ผู้สร้าง

ภาพยนตร์ รายหนึ่งที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ซึ่งเขาสุญเสียดวงตาข้างขวา และเขาได้ประดิษฐ์กล้องขนาดจิ๋วที่

สามารถนำ มาใส่ทดแทนดวงตาข้างที่สูญเสียการมองเห็น และประสบความสำเร็จเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมประจำ

ปี 2009 ที่ ผ่านมาทั้งนี้ นายร็อบ สูญเสียดวงตาข้างขวาจากเหตุผิดพลาดทางการยิงที่ฟาร์มของปู่ของเขา และเขา

ประดิษฐ์  “ตาหุ่นยนต์”ซึ่งประกอบด้วย “กล้องวีดีโอไร้สาย” ซึ่งทำงานโดยใช้แบตเตอรี่ขนาด 3 โวลต์ ที่ไม่รบกวนสมอง

และ การทำงานของตาข้างซ้ายของเขา โดยที่มันจะทำหน้าที่บันทึกทุกสิ่งที่เขามองเห็นนอกเหนือจากนั้นมันยังประกอบ

ด้วย ตัวถ่ายทอดสัญญาณ ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงได้อีกด้วย แต่จุดอ่อนของเครื่องนี้ก็อยู่ที่

ภาพที่ ได้มีความคมชัดของภาพต่ำ และระดับคลื่นสัญญาณที่ยังไม่แรงพอ ดังนั้นเขาจึงจำเป็นต้องติดตั้ง “เสาอากาศ” ไว้

บริเวณ แก้ม เพื่อที่จะรับและส่งสัญญาณได้ดีขึ้น ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ โดย นายร็อบ กล่าวว่า

 “ผมจะไม่ เหมือนมนุษย์อย่างพวกคุณเข้าไปทุกที เพราะผมอัพเกรดได้” อย่างไรก็ตาม กล้องชนิดนี้ได้รับการพัฒนาขึ้น

โดยความ ช่วยเหลือจากศาสตราจารย์สตีฟ มานน์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเสตต์ และผู้เชี่ยวชาญด้าน

“ไซบอร์ก” ราย หนึ่ง เพื่อ ผสมผสานความเป็นมนุษย์และสิ่งประดิษฐ์โดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยรายงานยังระบุว่า เขาตั้ง

ฉายาให้กับ ตนเองว่า “อายบอร์ก กาย” หรือ “มนุษย์ตาหุ่น”

 Page 15

หุ่นยนต์อุ้มผู้ป่วย

โตโยต้าโชว์หุ่นยนต์รุ่นใหม่พร้อมกันสองรุ่นตัวหนึ่งมีรูปร่างคล้ายมนุษย์ หรือที่เรียกว่าฮิวแมนนอยด์ อีกตัวหนึ่งเป็น

พาหนะสองล้อสำหรับพาคนพิการและผู้ป่วยเคลื่อนที่ภายในคฤหาสน์สถานแทนจะนอนแบบอยู่บนเตียงคัตสุกิวาตานาเบ

ประธานบริษัทโตโยต้า กล่าวว่า หุ่นยนต์จะเป็นธุรกิจหลักของโตโยต้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำจากญี่ปุ่น

รายนี้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี พ.ศ.2553 หุ่นยนต์ภาคสนามมากมายจะถูกผลิตออกมาช่วยงานตามโรงงาน บ้านเรือนและ

ในเมือง และปีหน้าโตโยต้ายังมีแผนทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์ในโรงพยาบาล และโรงงานของโตโยต้าเอง รวมถึง

สถานที่ หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้งานในโรงงานมานานแล้วเช่น ใช้เชื่อม และใช้ประกอบชิ้นส่วนตามสายพานการผลิต ขณะที่

หุ่นยนต์เหล่านี้ยังไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่ในอนาคตหุ่นยนต์จะทำงานช่วยเหลือมนุษย์อย่างเป็นอิสระ ผู้บริหารโตโยต้า

บอกว่าหุ่นยนต์ถือเป็นพัฒนาการอีกขั้นของโตโยต้า ผู้ขับขี่รถยนต์สามารถสังเกตได้ว่า รถยนต์รุ่นใหม่มักติดตั้งระบบ

เซ็นเซอร์ และสมองกลเพื่ออำนายความสะดวกและดูแล และป้องกันอุบัติภัยให้แก่ผู้ขับขี่ หนึ่งในหุ่นยนต์ที่โตโย

ต้านำมาโชว์เมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นหุ่นยนต์สองล้อที่ออกแบบคล้ายรถเข็นคนป่วยสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็ว

20 กม./ชม. สามารถเคลื่อนที่ไปตามพื้นที่ขรุขระหรือเป็นเนินขึ้นลงโดยทรงตัวเองได้อัตโนมัติ เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจจับพบ

สิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า มันจะวิ่งอ้อมไปอีกด้านทันที หุ่นยนต์แบบนี้สามารถพาผู้ป่วย และคนชราไปยังเตียงนอนได้โดย

ไม่ต้องมีคนคอยช่วย รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมให้ผู้ผลิตรถยนต์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหุ่นยนต์อย่างจริงจังก่อนหน้านี้

บริษัทฮอนด้าได้นำหุ่นยนต์อาซิโมไปแสดงความสามารถตามที่ต่างๆ ทั่วโลก เช่นเดียวกับบริษัทฮิตาชิ ฟูจิสึ และเอ็นอีซี

ที่ตั้งงบประมาณวิจัยด้านนี้ ถึงแม้โตโยต้าจะตามมาทีหลัง แต่เทคโนโลยีหุ่นยนต์ของผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ไม่น้อยหน้าราย

อื่น หรืออาจเหนือกว่าด้วยซ้ำหุ่นยนต์อีกตัวหนึ่งที่นำมาโชว์ความสามารถเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ขนาด 5 ฟุต นอกจาก

สีไวโอลินได้แล้วมันยังโยกตัวเคลื่อนไหว มีอารมณ์ร่วม ไปกับการบรรเลงดูราวกับเป็นนักไวโอลินมืออาชีพนิ้วหุ่นยนต์ที่

กดโน้ตลงบนสาย สอดคล้องกับการชักแขนสีสายไวโอลิน แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีขั้นสูงที่สั่งการให้นิ้วมือและแขน

เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อันเป็นหัวใจสำคัญของระบบหุ่นยนต์ที่ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ด้านความปลอดภัยใน

การขับขี่รถยนต์

Images

 Page 16

หุ่นยนต์บำบัดเด็กออทิสติก

“

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยงมาทดลองบำบัดกับเด็กออทิสติก เพื่อแก้

ปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติก เช่น ปัญหาการไม่สบตา การหลีกหนีการสัมผัส การขาดปฏิสัมพันธ์สังคม และการ

ขาดทักษะการสื่อสาร โดยทำการศึกษาในเด็กออทิสติก จำนวน 34 คน ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ ซึ่งมีรูปแบบ

ในการทดลองแบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่1 เป็นการศึกษาแบบเดี่ยว โดยให้เด็กเล่นกับหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยงแบบ 1 ต่อ 1

เพื่อให้เด็กได้ทำความรู้จักกับหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยงใช้เวลาในการศึกษา 4 สัปดาห์ ช่วงที่ 2 เป็นการศึกษาแบบกลุ่ม โดยให้

เด็กเล่นกับหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยงแบบ 1 ต่อ 1 กลุ่มละ 3-5 คน เวลาในการศึกษา 4 สัปดาห์ และช่วงที่ 3 ทำการศึกษาเชิง

บูรณาการโดยใช้หุ่นยนต์สัตว์เลี้ยงร่วมกับกิจกรรมการบำบัดฟื้นฟูในชีวิตประจำวันเวลาในการศึกษา 2 สัปดาห์ ทำการเก็บ

รวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกภาพด้วยกล้องวงจรปิดและแบบบันทึกพฤติกรรมของเด็กระหว่างทำกิจกรรม รวมทั้งบันทึก

ข้อมูลพฤติกรรมของเด็กก่อนและหลังการทดลอง เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบผลการบำบัดเด็กออทิสติกด้วยหุ่นยนต์

สัตว์เลี้ยง ผลการศึกษา พบว่าพฤติกรรมของเด็กก่อนการทดลองพบว่า มีภาวะไม่อยู่นิ่ง(Hyperactive) ตลอดเวลา ในเด็ก

บางคนมีภาวะหลีกหนีการสัมผัส (Tactile defensiveness) มีอัตราการจ้องมองน้อย ขาดทักษะการสื่อสาร และปฏิ

สัมพันธ์สังคม ภายหลังจากการทดลอง พบว่า เด็กมีภาวะไม่อยู่นิ่งลดลง มีการสัมผัสเพิ่มขึ้น การอัตราการจ้องมองเพิ่ม

ขึ้น ในเด็กที่มีความสามารถสูง(High Function) พบว่า ในเด็กที่พูดได้มีการสื่อสารกับเด็กในกลุ่ม เช่น บอกเพื่อนในกลุ่ม

ให้ทำกิจกรรม เรียกเพื่อนมาร่วมทำกิจกรรม พูดคุยกับผู้บำบัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่ม

เพื่อน และมีช่วงความสนใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การประเมินภาวะความเครียดของผู้ปกครองและผู้บำบัด พบว่า ผู้ปกครองมี

ระดับความเครียดลดลงโดยมีคะแนนก่อนการทดลอง 2.70 คะแนนและหลังการทดลอง 2.34 คะแนน เนื่องจาก

พฤติกรรมของเด็กออทิสติกที่ดีขึ้น แต่ผู้บำบัดมีระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นโดยมีคะแนนก่อนการทดลอง 1.70 คะแนน

และหลังการทดลอง 1.94 คะแนน เนื่องจาก ต้องคอยระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับหุ่นยนต์ และความคาดหวังต่อ

การใช้หุ่นยนต์บำบัดในเด็กออทิสติก การศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า

1) ควรเพิ่มระยะเวลาในการทดลองให้มีระยะเวลานานขึ้น

2) จัดเป็นกิจกรรมกลุ่มเชิงบูรณาการมากกว่าการจัดกิจกรรมเดี๋ยว 

3) ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับการบำบัดอื่นๆ

4) ทำการทดลองในเด็กออทิสติกแรกรับ และยังไม่ได้รับการฟื้นฟูมาก่อน และ

5) ควรมีการพัฒนาหุ่นยนต์โดยใช้เทคโนโลยีภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

Page 17

หุ่นยนต์ดินสอ

ดินสอ เป็นหุ่นยนต์ประเภทฮิวแมนนอยด์ (Humanoid) คือมีลักษณะคล้ายมนุษย์ ดินสอเป็นเด็ก

ไทย มีบุคลิกเท่ากับเด็กอายุ 10 ขวบ มีนิสัยร่าเริง ชอบศึกษาเรื่องไฮเทค มีความสามารถในการ

พัฒนาเพิ่มขีดความสามารถ ของหุ่นยนต์ หรือสร้างหุ่นยนต์ มีชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีหุ่น

ยนต์หลากหลายประเภทเป็นเพื่อน ทั้งเพื่อนที่คอยช่วยเหลือและเพื่อนที่

คอยสร้างปัญหา ดินสอมีหน้าที่คอยช่วยเหลือผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กๆ ดินสอชอบเล่าเรื่องหรือสอน

เรื่องไฮเทค และเรื่องที่

เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซึ่งหุ่นยนต์ดินสอ ถือเป็นหุ่นยนต์ต้นแบบ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท CTAsia Robotics เป็นหุ่นยนต์

เพื่องานบริการ เพื่อการศึกษา โดยกลุ่มวิศวกรและโปรแกรมเมอร์ ผู้มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์จากการแข่งขัน

หุ่นยนต์ ในระดับต่างๆมากมาย หุ่นยนต์ดินสอมีการทำงานหลักดังนี้ แสดงสีหน้าและอารมณ์

โครงสร้างหลักของหุ่นยนต์ทำจาก Aluminum 6061 ซึ่งมีลักษณะเด่นคือสามารถขึ้นรูปได้ง่าย น้ำหนักเบา แข็งแรงทน

ทาน ไม่บิดตัวง่าย ไม่เป็นสนิม ราคาไม่แพง และออกแบบโครงสร้าง ด้วยคอมพิวเตอร์มีการวิเคราะห์ทางไฟไนต์เอลลิ

เมนต์ เพื่อให้ได้โครงสร้างของหุ่นยนต์มีความสมดุล แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา

หุ่นยนต์มีโครงสร้างที่เล็กเพื่อสามารถเคลื่อนที่ในที่แคบได้อย่างคล่องตัว การเลี้ยวและหมุนอย่างอิสระจึงใช้ ระบบขับ

เคลื่อนล้อหลังอิสระสองล้อ และมีล้อประคองขนาดเล็กสองล้อหน้าเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ ได้อย่างอิสระในทุก

ทิศทาง

ส่วนตัวตรวจจับ (Sensor)

ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของหุ่นยนต์ หุ่นยนต์จะทำงานได้ถูกต้องหรือไมขึ้นอยู่กับการทำงานของ อุปกรณ์ชนิดนี้

หน้าที่ของอุปกรณ์ตรวจจับคือ ทำการตรวจสัญญาณ หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงวิทยาศาสตร์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มารายงาน

ให้ส่วนควบคุมรับทราบ เช่น ในหุ่นที่ตรวจสอบการชนวัตถุ ก็จะใช้เซนเซอร์สัมผัสเป็นตัวทำหน้าที่รายงานว่ามีการชนกัน

สิ่งกีด ขวางหรือไม่ ถ้ามีการชนก็ให้เลี้ยวหลบไปอีกทางเป็นต้น

ระบบความปลอดภัย (Safety)

การทำงานของหุ่นยนต์ดินสอจะเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยได้ติดตั้งระบบความปลอดภัยไว้ด้วยกัน 4 จุด คือ

ระบบป้องกันการชนระดับต่ำโดยใช้เซ็นเซอร์วัดระยะ ทางแบบอินฟาเรต ใช้วัดสิ่งกีดขวางที่หุ่นยนต์จะวิ่งชนเช่นรองเท้า

ขาโต๊ะ เป็นต้น ระบบป้องกันการชนระดับสูงโดยใช้ Laser Scanner เพื่อแยกความแตกต่าง ระหว่างคน กับวัตถุ ได้ถึง

240 องศาในรัศมี 4 เมตร ระบบการตรวจวัดน้ำหนักที่ข้อมือ และข้อศอกของ หุ่นยนต์ดินสอโดยใช้ Force Sensor ใช้

ในกรณีที่อาจมีการบรรทุกเกินระบบจะสั่งให้มอเตอร์ หมุนในทิศทางที่ปลอดภัย กับตัวหุ่นยนต์และผู้ใช้งาน

Emergency Switches ใช้หยุดการทำงานของหุ่นยนต์ ได้จากรีโมทไร้สาย ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน

Page 18

หุ่นยนต์ RRC เหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์

เทรดเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์และระบบที่สามารถเข้าถึงไปยังซาก

ปรักหักพัง เพื่อกู้ภัยจนช่วยชีวิตคนที่ติดภายในออกมาได้อย่างปลอดภัย เทคโนโลยีหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้เพื่องานที่ท้าทาย

และแข่งกับเวลาเช่นนี้ สาธารณชนทั่วโลกจึงได้ประจักษ์ถึงขีดความสามารถ หุ่นยนต์กู้ภัย(Rescure Robot) เป็นครั้ง

แรกอันที่จริงหุ่นยนต์กู้ภัยได้ถูกคิดค้นและออกแบบมานานแล้ว เหตุการณ์สารละลายรั่วซึมของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่

โรงผลิตไฟฟ้า Three Mile Island มลรัฐเพนซิลเวเนีย

สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1979 นั้น รุนแรงและสร้างความ

หวาดผวาแก่คนเอมริกันมาก รัฐบาลได้ว่าจ้างให้มหาวิทยา

ลัยคาร์เนกี้เมลลอนสร้างหุ่นยนต์กู้ภัยที่ชื่อ Remote

ReconaissanceVehicle (RRC) เพื่อทำหน้าที่เก็บทำ

ความสะอาดบริเวณพื้นโรงไฟฟ้าที่ท่วมเอ่อล้นด้วยของเหลวที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี หุ่นยนต์ RRC ทำงานถึงสี่ปี

เต็มๆจึงเสร็จภารกิจ จนเกิดความปลอดภัยเพียงพอที่เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปปิดระบบต่างๆได้จัดแบ่งตามระดับของความ

ชาญฉลาด กล่าวคือ ที่มีความฉลาดสูงสุดไม่ต้องพึ่งการตัดสินใจของมนุษย์ เพราะรอไม่ได้อาจช้าเกินไปจนหุ่นยนต์ตก

อยู่ในสถานการณ์อันตราย เช่น หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร เป็นต้น ส่วนประเภทที่ผสมผสานจุดเด่นของมนุษย์ด้านการใช้

เหตุผลและจุดแข็งของหุ่นยนต์ด้านความเร็ว/ละเอียด จะเป็นหุ่นยนต์ตามโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพ

ทางอุตสาหกรรมให้สูงขึ้น ในขณะที่หุ่นยนต์กู้ภัยถูกออกแบบให้พึ่งการตัดสินใจของมนุษย์อย่างเต็มที่ เพราะผลลัพธ์การ

ปฏิบัติการของหุ่นยนต์ประเภทนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์โดยตรงการออกแบบทางกลไกเป็นสิ่งที่ท้าทายมากเพราะหุ่น

ยนต์ต้องเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางลักษณะต่างๆกลไกที่นำมาใช้งานมีตั้งแต่ ล้อ สายพาน ขา จนถึงกลไกเคลื่อนที่แบบงู

อย่างไรก็ตาม ข้ออ่อนทางเทคนิคที่สำคัญที่พวกนักวิจัยหุ่นยนต์พยายามปรับปรุงหุ่นยนต์กู้ภัยให้มีสมรรถนะสูงขึ้นคือด้าน

การควบคุมระยะไกลที่ผู้บังคับหุ่นยนต์สามารถรับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่หน้างานจริงของหุ่นยนต์แม้ว่าอยู่ห่างออกไปถึง 200-

300 เมตรก็ตาม ข้อมูลด้านอุณหภูมิความดัน แก๊สพิษ ตลอดจนแรงกระทำปฏิสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์กับวัตถุสิ่งกีดขวาง 

หรือแม้กระทั่งต่อร่างกายคนบาดเจ็บมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการช่วยชีวิตมนุษย์ ระบบหุ่นยนต์ที่

บูรณาการ ข้อมูลภาพและแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น

Page 19

หุ่นยนต์พยาบาล

 “Nursebot” หรือ “Pearl”

 “nursebot” หรือมีชื่อว่า “Pearl” ซึ่งเป็นผลงานร่วมกันของวิศวกรของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง คือ มหาวิทยาลัย

Pittsburg Pencillvania, University of Michigan, Stanford University และมหาวิทยาลัยCarnegie mellon ประเทศ

สหรัฐอเมริกา Pearl เป็นหุ่นยนต์พยาบาล มีหน้าที่คอยเตือนให้ผู้ป่วยกินยา คอยตรวจร่างกายแล้วส่งสัญญาณเป็น

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้หมอได้รับทราบผลการตรวจ ช่วยยกจานชามและข้าวของ และจะคอยดูว่ามีผู้ป่วยหรือผู้สูง

อายุคนไหนหกล้มบ้าง แล้วจะส่งภาพไปตามศูนย์ดูแลต่างๆเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือได้ทันเวลานอกจากจะช่วยดูแลผู้

ป่วย

Pearl ยังมีความสามารถเฉพาะตัวสามารถยักคิ้ว ลืมตา หลับตา พยักหน้า ส่ายหน้า และตอบคำถามง่ายๆ ได้ โดยที่

หูกลมๆ ด้านข้างทั้งสองจะหมุนในขณะที่มันใช้ความคิด

อาจจะดูธรรมดาๆ ถ้าเราเห็นหุ่นยนต์ เดินได้ พูดได้ ยิ้มได้   แต่หุ่นยนต์ที่ผมกำลังนำ

เสนอนี้มาแปลกแหวกแนว  เพราะมันสามารถปีนต้นไม้ได้ ผลงานหุ่นยนต์ปีนต้นไม้นี้

มาจากนักศึกษาหัวกะทิจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในฮ่องกง  ได้ตั้งชื่อว่า TreeBot โดย

หุ่นยนต์ สำหรับปีนต้นไม้นี้  จะทำงานโดยใช้เซนเซอร์ต่างๆ ที่ติดไว้ตามรอบๆหุ่นยนต์

คำนวณและกำหนดเส้นทางวิธีปีนขึ้นต้นไม้ไป  เวลาปีนจะคล้ายๆ ตัวหนอน  และมีความ

สามารถที่จะปีนป่ายได้หลายพื้นผิวด้วย  แต่เท่านั้นยังไม่พอ TreeBot สามารถบรรทุก

น้ำหนักถึง เกือบ 2 กิโลกรัมปีนไปได้อีกด้วย แต่ฉันคิดว่า ความสามารถนี้มีประโยชน์

มากๆ เหมือนกัน ในตำแหน่งหรือจุดบางจุดที่ มนุษย์เราไม่สามารถปีนป่ายได้  เช่นช่วยชีวิต กู้ภัย ต่างๆ นานา (รวมถึงเป็น

โจรขโมยของก็ได้ด้วย = =”!!!?? เอ๊ะไม่เกี่ยวๆๆ)  อนาคตถ้ามีหุ่นยนต์ประเภทนี้เข้ามาพัฒนาในประเทศไทย  ฉันว่า ลิง

เก็บมะพร้าวคงนอนสบายแน่นอน โดยมีผู้ช่วยแทน  ก็มีหุ่นยนต์ปีนต้นมะพร้าว และเก็บลูกมะพร้าว ได้แล้วนี่นา ไม่ง้อลิง

ก็ได้                         

 

Page 20

BEAR หุ่นยนต์พยาบาลในสนามรบ

The Battlefield Extraction-Assist Robot (BEAR) หุ่นยนต์ที่บังคับด้วยรีโมทคอนโทรล ผู้ช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บใน

สนามรบ จากการคิดค้นของ Vecna Technologies เนื่องจากความเสี่ยงภัยในการที่หน่วยช่วยชีวิตจะเข้าไปค้นหาและ

ช่วยเหลือทหารผู้บาดเจ็บ และการที่จะนำผู้บาดเจ็บออกมายังหน่วยปฐมพยาบาลก็ยังเป็นไปได้ยาก จึงได้มีการคิดค้นหุ่น

ยนต์พยาบาลชื่อ BEAR นี้ขึ้นBEAR จะทำหน้าที่ออกค้นหาและช่วยชีวิตทหาร โดยใช้แขนไฮโดรลิคของมัน ที่สามารถ

ยกทหารผู้บาดเจ็บที่มีเครื่องแต่งกายครบชุด

ได้ถึง 272 กิโลกรัม ( หรือ 600 lbs) และขนย้ายผู้บาดเจ็บ

ในระยะทางที่ไกลโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ซึ่งเป็นสิ่งที่เพื่อน

ทหารด้วยกันทำได้ยาก เจ้าหุ่นยนต์ BEAR เคลื่อนที่โดยใช้

ล้อ และข้อต่อที่ทำให้มันสามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกท่วงท่า

มันสามารถปรับความสมดุลของตัวมันขณะที่มันไต่ขึ้นบนเนิน

เขา หรือกลิ้งบนที่ต่ำได้ พูดได้ว่ามันเดินทางไปได้บนทุก

สภาพพื้นที่ไม่ว่าจะขรุขระแค่ไหน นอกจากนี้มันยังสามารถ

อุ้มผู้บาดเจ็บขึ้นลงบันไดได้โดยตัวมันไม่เสียสมดุล คลาน

หรือย่อเข่าในขณะที่มันประคองร่างของผู้ป่วยได้ ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Dynamic Balance Behavior (DBB)

อยากให้ทุกคนหันมาสนใจการช่วยเหลือของหุ่นยนต์ในการใช้ด้านเทคโนโลยีให้มีคุณค่าแก่ชีวิตของมนุษย์ แทนการ

สร้างอาวุธเพื่อต่อสู้กันเองนะคะทุกคน